ก่อนใช้งานปั๊มลมสิ่งสำคัญที่จะต้องไม่ลืมดูก็คือเรื่องของส่วนประกอบแต่ละส่วนว่ามีติดมากับปั๊มลมครบถ้วนหรือไม่ เพราะอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งหายไป ไม่เพียงแค่ปั๊มลมจะทำงานได้ไม่เต็มที่ แต่ยังอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวปั๊มลม หรือต่ออุปกรณ์ที่ใช้งานควบคู่ด้วย ส่วนประกอบที่สำคัญของปั๊มลมอาจแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆคือ ส่วนเก็บลมหรือถังลม ส่วนปั๊มลม และส่วนกรองลม ทั้ง 3 ส่วนนี้ ตามปกติแล้วจะทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ ถังลมจะทำหน้าที่กักอากาศเอาไว้ให้ส่วนถังปั๊มเพิ่มแรงดันลม แล้วปล่อยลมที่เพิ่มแรงดันแล้วออกทางท่อส่งลม โดยจะต้องผ่านส่วนกรองลมเสียก่อน เพื่อกรองเศษสิ่งปะปน และปรับอุณหภูมิของลมให้ออกมาเหมาะสมกับการใช้งาน ก่อนการใช้งาน และระหว่างการใช้งานจะต้องคอยตรวจสอบว่าแต่ละส่วนทำงานครบหมดทุกส่วนไหม หลังเลิกใช้งานแล้วจะต้องคอยดูว่ามีเศษสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปหรือไม่ นอกจากนี้ควรตรวจดูข้อต่อหรือจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ ของปั๊มลมว่าติดแน่นอยู่ตลอดเวลาหรือไม่ ถ้าสังเกตเห็นความผิดปกติก็ควรแจ้งให้ช่างผู้ชำนาญเป็นผู้ซ่อมแซม
ส่วนประกอบและหน้าที่ของปั้มลมมีดังนี้
- หัวปั้มลม มีหน้าที่ผลิตลม
- มอเตอร์ไฟฟ้า มีหน้าที่ต้นกำลังในการผลิตลม
- ถังเก็บลม มีหน้าที่เก็บลมไว้ใช้งาน
- สวิทซ์ออโตเมติก มีหน้าที่สั่งการทำงานอัตโนมัติ ซึ่งจะสั่งให้ปั้มลมหยุดการทำงานเมื่อได้ลมตามที่ต้องการ และจะสั่งให้ปั้มลมทำงานต่อ เมื่อลมลดถึงระดับที่ระบุไว้
- แม็กเนติก มีหน้าที่ป้องกันการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า
- เกจ์ มีหน้าที่บอกแรงดันลมที่มีอยู่ในถังเก็บลม
- โปโร มีหน้าที่ระบายลมออกจากถังเก็บลม เมื่อสวิทซ์ออโตเมติกไม่ทำงาน
- เช็ควาล์ว มีหน้าที่กันลมย้อนกลับเข้าหัวปั้มลม
- สายระบายลม มีหน้าที่ผ่านลมลงไปยังถังเก็บลม
- ท่อทองแดง มีหน้าที่ระบายลมออกจากสายระบาย เพื่อลดแรงเสียดทานเมื่อเริ่มต้นผลิตลม
- ตาแมว มีหน้าที่แสดงปริมาณน้ำมันหล่อลื่นที่อยู่ในหัวปั้มลม ซึ่งจะต้องอยู่ในระดับที่ระบุไว้